ออกจากความคิด ออกไปอยุู่ไหน?

อัพเดทล่าสุด: 13 ก.ย. 2023
267 ผู้เข้าชม
ออกจากความคิด ออกไปอยุู่ไหน?

วันนี้เจอนักเรียนหญิงชั้ ม. 4 หน้าตา น่ารัก สุภาพเรียบร้อย
ดูเป็นเด็กดี อ่อนน้อม ย้ายมาจากต่างจังหวัด
เธอรักษาโรคซึมเศร้ามาตั้งแต่ ม. 2 ทานยาต่อเนื่อง
แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยาได้

"หนูเป็นเด็กไม่ดี ถ้าไม่มีหนูอยู่คงจะดี"
เด็กดีต้องเป็น ยังไง?
"ก็ต้องช่วยแบ่งเบาภาระ พ่อ แม่ ทำให้ แม่ สบายใจ เป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน " ฯลฯ
.
.
ผมพบว่าเด็กๆ ที่มีปัญหาทางอารมณ์ สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกัน คือ
มีมุมมองที่ไม่ดีต่อตนเอง
.
.
.
ผมยิ่งฟังน้องผมก็รู้สึกว่าน้องเป็นเด็กดี มีความกตัญญู
แต่ในทางจิตวิทยา ผลลัพธ์ของชีวิตขึ้นอยู่กับมุมมอง
ที่เรามีต่อตัวเราเอง
.
.
เรามองตัวเองอย่างไร?
มองตัวเองลบ ก็เศร้า ป่วย
รักและนับถือตนเองเป็น สุขภาพจิตก็ดีตามมา
.
.
ไม่ว่า ผม คุณแม่ เพื่อนๆ จะพูดชื่นชม
คนทั้งโลกมองว่าน้องมีคุณสมบัติที่ดี
แต่ด้วยความเชื่อที่ฝังแน่น
เชื่อว่าฉันเป็นลูกที่แย่ เป็นปัญหา เป็นจุดอ่อนของครอบครัว
มันจะจริงตามมุมมองของน้อง ที่มองตนเอง
.
.
ความรู้สึกเหล่านี้จะผุดมาทำร้าย น้องๆ ที่เป็นซึมเศร้าอยู่ตลอด
ยากมากที่จะออกจากความคิดที่ฝังแน่นเหล่านี้
เนื่องจากความคิด จิตใจของเราเขาทำงานเร็วมาก
นักวิจัยพบว่าวันหนึ่งๆ เราคิดประมาณ 6 หมื่นเรื่อง เลยทีเดียว
แต่เรากลับไม่รู้ว่าเราคิด
เราจะเพลินไปในความคิดแทบตลอดเวลา
เราไม่สามารถคิดดีได้เลยละ หากไม่ฝึกซ้ำๆๆๆ
เพราะธรรมชาติของจิตใหลลงสู่ที่ต่ำ ชอบคิดลบ
.
.
.
ต้องฝึกๆซ้ำๆ จนเกิดความเชื่อใหม่
ความเชื่อที่ว่า "ฉันเป็นคนเก่ง ฉันเป็นคนดี ฉันมีคุณค่า ฉันเป็นที่รัก ฉันเลือกที่จะมีความสุขได้"
.
.
เพราะในหัวน้องๆ มีความเชื่อที่ฝังแน่น ว่า "ฉันเป็นซึมเศร้า"
.
.
สิ่งที่ต้องฝึก คือ
1. ฝึกเห็นความคิดตนเองก่อน เห็นว่าฉันกำลังคิด
2. เมื่อเห็นว่ากำลังคิด ก็ออกจากความคิด ลบๆ นั้นทันที
(เราห้ามความคิดลบไม่ได้ครับ เพราะเขาอยู่กับเรามานาน พฤติกรรมของจิต เลยคิดลบจนชิน)

หากฝึกบ่อยๆ จะไม่จมไปในอารมณ์ลบ นาน
.
.
ออกจากความคิด ออกไปอยุู่ไหน?
3. ออกมารับรู้อาการทางกาย เช่น เมื่อรู้ว่ากำลังคิดลบ ให้หายใจลึกๆ
(เพื่อไม่ให้ดิ่งไปในอารมณ์) หรือรับรู้ท่าทาง นั่ง ยืน ความตึงตัวของร่างกาย การหายใจ ฯลฯ
.
.
.
ข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ
.
.
ต้องฝึกออกจากความคิดมารับรู้อาการทางกายบ่อยๆ เท่านั้นถึงจะทำได้
หากไม่ฝึกรู้สึกตัวบ่อยๆๆๆๆๆ ยากมากที่จะออกจากความคุ้นชินเดิมได้
สิ่งนี้อาจเห็นผลเร็วไม่ทันใจคนเศร้า
แต่มันไม่มีทางออกอื่น นอกจากกินยา
หรือยอมจำนน ต่อความทุกข์ เป็นซึมเศร้าไม่หาย
เป็นกำลังใจให้คนเศร้าครับ


- Anan Harnwang -

บทความที่เกี่ยวข้อง
หนูลองเทียบระดับความโกรธ กับความใหญ่ของลูกโป่ง
ให้เด็กๆ ลองคิดถึงเหตุการณ์ใน 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ว่ามีเหตุการณ์ไหนที่หนูรู้สึกโกรธ / โมโห บ้าง มีอะไรเกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น
อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงใคร หากเรายังเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้
เราจะจัดการอารมณ์เราได้ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ รักและนับถือตนเอง เราจะมีความสุขขึ้น
หนูต้องทำอย่างไรดี? ต้องพามาพบหมอไหม/ รึเขาจะเป็นซึมเศร้า
หนักใจเป็นที่สุดภรรยาพรั่งพรูออกมา "หมอลูกสาวคนโตฉัน อายุ 14 ปี ก้าวร้าวมาก
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy