สองสามี ภรรยา หน้าเศร้าเดินเข้ามาหา....
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นปัญหาที่หนักอก หนักใจเป็นที่สุด
ภรรยาพรั่งพรูออกมา "หมอลูกสาวคนโตฉัน อายุ 14 ปี ก้าวร้าวมาก
เล่นแต่โทรศัพท์ เก็บตัวอยู่ในห้อง ไม่ยอมกินข้าวกับครอบครัว
ไม่คบเพื่อน ครูเอือมระอามาก โมโหร้าย ไม่เคยยอมรับความผิดของตัวเอง
เถียงเก่งมาก ทำให้ฉันร้องให้บ่อยมาก เราทะเลาะกันบ่อยมากๆ ฯลฯ
.
หนูต้องทำอย่างไรดี?
ต้องพามาพบหมอไหม/ รึเขาจะเป็นซึมเศร้า ฯลฯ
.
.
.
.
อนันท์
"พฤติกรรมนี้เป็นมานานรึยังครับ มันเกิดอะไรขึ้นก่อนหน้านั้น"
น้องเคยป่วยด้วยโรคจิตเวชไหม ?
ใช้สารเสพติดรึเปล่า ?
การเรียนเป็นอย่างไร ?
คุณแม่จัดการกับปัญหาอย่างไรไปแล้วบ้าง ฯลฯ
เราคุยกันอยู่นาน...........ผมฟังอย่างตั้งใจว่าคุณแม่พยายามสื่ออะไร
จนคุณแม่พูดว่า " ฉันเกลียดมัน มันไม่น่าเกิดมาเป็นลูกฉันเลย
ตอนนี้หน้ามันฉันแทบไม่อยากจำ ไปตลาดฉันซื้อขนม
ฉันจะซื้อขนมให้แต่ลูกคนเล็ก ลูกชายคนเล็กช่างแตกต่าง
น่ารัก คุยเก่ง ช่างเอาใจ"
ตอนนี้เลยถึงบางอ้อ
1. เด็กรู้สึกไม่เป็นที่รัก
เมื่อมีน้องแม่แสดงออกชัดเจนว่ารักน้อง
เกิดความกลัวไม่เป็นที่รักขึ้นในหัวใจ
มีพฤติกรรมต่อต้านเริ่มก้าวร้าวและเถียง
2. เก็บตัวอยู่แต่ในห้องเพราะบ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยอีกต่อไป
ออกจากห้องต้องทะเลาะ และเริ่มปาระเบิดเข้าใส่กันบ่อยครั้ง
3. เป็นพี่สาวที่เกลียดน้อง
การพูดคุยเป็นการสะท้อนให้คุณแม่เห็นปัญา
ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาพฤติกรรม ไม่ใช่เกิดจากสารเสพติด
หรือโรคทางจิตเวช เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว
เกิดจากการส่งต่อทางพฤติกรรม เพราะยายก็โมโหร้าย
ส่งมาให้ แม่ แม่ส่งต่อให้ลูกสาว เด็กเรียนรู้ที่จะปกป้องตนเอง
ฉันไม่เป็นที่รัก ไม่ไว้ใจสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เก็บตัว
.
.
.
ต้องชื่นชมทั้งพ่อและแม่ที่รับผิดชอบ...............
กล้าเข้ามาขอรับคำปรึกษาที่คลินิกสุขภาพจิต
เราพูดคุยกัน ได้ข้อสรุปประมาณว่า
แม่ต้องดูแลตนเองก่อนดูแลลูก ต้องรักลูกให้ได้ก่อน
ให้อภัยในพฤติกรรมลบๆ ของลูกในอดีต แน่นอนภาพนิสัยแย่ๆ
ของลูกฝังเข้าไปในจิตใจแม่ จนกลายเป็นความเกลียดชัง
กลายเป็นปมฝังใจ ลูกก็เหมือนกัน น่าจะเกลียดแม่ไม่น้อยไปกว่ากัน
แม่ต้องฝึกออกจากความคิดลบๆ ที่มีต่อลูก
เมื่อเรื่องลบที่จบไปแล้วผุดขึ้นมาออกจากความรู้สึกนั้นให้เร็ว เมื่อทำซ้ำๆๆๆๆๆๆ
แม่จะความคุมพฤติกรรมตัวเองได้ ไม่ปรี๊ดแตก......
.
.
เมื่อแม่ควมคุมพฤติกรรมตัวเองได้ ลูกจะเริ่มควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
เมื่อแม่มีความรู้สึกที่ดีต่อลูก แววตาของแม่จะเปลี่ยนไป
มันไม่เกี่ยวกับคำพูด คำสอน
.
.
.
แต่สิ่งสำคัญคือ สีหน้าแววตา น้ำเสียง อารมณ์ความรู้สึกที่ส่งออกไป
สื่อต้องตรงกับสาร เด็กรับรู้ได้
.
.
เราจะยังไม่พยายามเปลี่ยนใคร จนกว่าเราจะเปลี่ยนแปลงตนเองได้
ใน 6 เดือน นับจากวันนี้ถ้าแม่เปลี่ยน อารมณ์ความรู้สึกตนเอง
พฤติกรรมคำพูดได้ ผมมั่นใจว่าพฤติกรรมน้องจะดีขึ้น
คุณแม่ร้องให้ คุณพ่อขอบคุณ
เรารับผิดชอบกับปัญหาร่วมกัน ไม่ โทษ บ่น อ้าง ไดๆ ทั้งสิ้น
- Anan Harnwang -